วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

เหมืองโปแตช : มหันตภัยแผ่นดินอีสาน


ดิมกฎหมายแร่ไทยไม่อนุญาตให้ทำเหมืองใต้ดิน แต่หมู่นักการเมืองและกลุ่มทุนได้พยายามผลักดันให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.แร่ในปี 2545 ให้มีสาระเรื่องการทำเหมืองใต้ดินโดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของที่ดิน หากทำเหมืองแร่ลึกเกิน 100 เมตรขึ้นไป และหลังจากนั้นได้มีลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ได้พากันยื่นขอสำรวจและผลิตแร่โปแตชในเขตชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมของภาคอีสานเกลือ 7 แสน 7 พื้นที่ใน 6 จังหวัด โดยมีเป้าหมายจะพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีต่อเนื่องจากเกลือและโปแตชในพื้นที่ภาคอีสาน

        นอกจากนี้ยังมีข้อถกเถียงเรื่องความเหมาะสมของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย ว่าอาจจะมีต้นทุนสูง โดยเฉพาะการกำจัดกากนิวเคลียร์ซึ่งต้องส่งไปกำจัดยังต่างประเทศ แต่ทางกระทรวงพลังงานก็ได้บอกว่า ต้นทุนการกำจัดกากนิวเคลียร์จะถูกลงเนื่องจากจะมีอุโมงค์ใต้ดินมากมายในภาคอีสานแหล่งจำกัดกากนิวเคลียร์ได้

        จากงานวิจัยซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ของว่าที่ ร.ต.คมกริช เวชสัสถ์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เรื่อง ศักยภาพเชิงกลศาสตร์ของโพรงเกลือใต้ดินในชั้นเกลือหินสำหรับการทิ้งกากนิวเคลียร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสิ่งที่พยายามยืนยันทางวิชาการเพื่อการนี้และได้วางแผนกันมานาน ซึ่งได้ศึกษาไว้เมื่อ ปี 2545 จากการวิจันสรุปได้ว่า

        เมื่อนำตัวอย่างแท่งแร่เกลือหินในชั้นความลึกต่าง ๆ จากการเจาะสำรวจมาทดสอบความแข็งแรงเชิงกลศาสตร์ นำมาออกแบบจำลอง และใช้การคำนวณวิเคราะห์แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาถึงความเหมาะสมของโพรงเกลือที่มีเสถียรภาพมากที่สุด และสามารถทิ้งกากนิวเคลียร์ได้ในระยะเวลา 500 ปี โดยศึกษาจาก 5 พื้นที่ ได้แก่

        1. บ้านเก่า อ.เมืองฯ จ.อุดรธานี 2. บ้านศรีเมือง อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร 3. บ้านกุดจิก อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร 4. บ้านโพธิ์พาน อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม 5.บ้านหนองปู อ.บรบือ จ.มหาสารคาม

        โดยตัวอย่างแร่ได้รับการอนุเคราะห์จาก บริษัท Asia Pacific Potash Corporation Ltd. หรือ APPC พบว่า ทุกพื้นที่มีแนวโน้มความเหมาะสมในการทิ้งกากนิวเคลียร์ที่ระดับความลึกต่างกัน คือ 484, 610, 585, 680 และ 799 เมตรตามลำดับ และทุกพื้นที่มีศักยภาพในการเก็บกากนิวเคลียร์ นอกจากนี้ โพรงเกลือยังสามารถใช้ประโยชน์ในการทิ้งของเสียอันตรายได้อีก เช่น ของเสียเคมี ของเสียติดเชื้อ และของเสียอุตสาหกรรม”

        เมื่อพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ปริมาณกากนิวเคลียร์และกากอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำนวนมหาศาลจะมาจากแหล่งใดบ้าง และใครจะได้ประโยชน์จากธุรกิจจัดการของเสียเหล่านี้ ก็พบว่า ในช่วงต้นเดือนเมษายน 2550 ที่ผ่านมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ไปลงนามข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น หรือเขตการค้าเสรี ไทย-ญี่ปุ่น (Japan – Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA)

        ข้อตกลงฉบับนี้ได้มีการคัดค้านมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในรายละเอียดที่ระบุถึงการให้นำเข้าขยะและของเสียจากญี่ปุ่น โดยการลดภาษีเป็น 0% ซึ่งหมายความว่าต่อไปในอนาคต ประเทศไทยก็จะต้องกลายเป็นทีรองรับขยะและของเสียจากอุตสาหกรรม ซึ่งจะถูกขนส่งมาจากญี่ปุ่น โดยที่ญี่ปุ่นไม่ต้องกังวลเรื่องการจักการขยะในบ้านตัวเองอีกต่อไป เพราะสามารถส่งตรงมากำจัดในไทยได้ บัญชีรายชื่อของเสียมีตั้งแต่ ขยะทั่วไป ขยะอุตสาหกรรม กากสารเคมี กากแร่ เถ้าที่เกิดจากการเผาขยะ ฯลฯ รวมทั้งกากนิวเคลียร์ด้วย และของเสียเหล่านี้อาจจะนำมาฝังในช่องอุโมงค์เหมืองแร่โปแตชในภาคอีสานต่อไป ซึ่งนับเป็นธุรกิจที่จะสร้างรายได้เพิ่มและผลกำไรให้กับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ใต้ดินในภาคอีสานได้อีกมาก

        จากประสบการณ์การศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ ของโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานีและเหมืองแร่โปแตชในต่างประเทศ พบว่าเหมืองแร่โปแตชมักจะ สร้างผลกระทบเชิงลบที่รุนแรงหลายประการ อาทิ การปนเปื้อนเกลือและสารเคมีในน้ำใต้ดิน แผ่นดินทรุด กองหางแร่ซึ่งเป็นเกลือปนเปื้อนสู่แผ่นดินและลำน้ำ แย่งชิงน้ำจากภาวะทางอากาศจากการปนเปื้อนฝุ่นเกลือ ไอเกลือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ฝุ่นขนาดเล็ก อุบัติเหตุ อุตสาหกรรมต่อเนื่อง จะเพิ่มความรุนแรงของปัญหาการปนเปื้อนและการแย่งชิงน้ำจากภาคเกษตรและภาคครัวเรือน รวมถึงมลภาวะทางอากาศ ขยะพิษ และปัญหาทางสังคมจากการเกิดเป็นชุมชนซ้อน

        ทั้งนี้ ประเด็นปัญหาที่สาธารณะห่วงกังวลมากที่สุด คือ โครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานีตั้งอยู่บนพื้นที่ต้นน้ำ และเป็นสันปันน้ำที่เป็นรอยต่อระหว่างลุ่มน้ำลำปาว – น้ำชี และห้วยขวาง - น้ำโขงและแหล่งแร่ที่สำรวจพบและกำลังขอดำเนินการทำเหมืองของภาคอีสานอยู่ในเขตที่มีชุมชนอยู่อย่างหนาแน่น และเป็นพื้นที่เกษตรกรรม

        ณ ห้องพิจารณาคดีของศาลจังหวัดอุดรธานี วันที่ 14 – 16 และวันที่ 19 – 20 – 21 พฤศจิกายนนี้ จะมีการนัดสืบพยานในคดีบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ที่บริษัทเจ้าโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี ฟ้องร้องดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี 5 คน ซึ่งยังกินลึกในใจชาวบ้านทุกคนเมื่อปลายปี 2549 แกนนำทั้ง 5 ถูกคุมตัวในห้องควบคุมซึ่ง 2 ใน 5 ของผู้ต้องหาเป็นคู่สามีภรรยาที่มีคู่แฝด 2 ที่ตอนนั้นอายุเพียง 2 เดือนถูกคุมขังไปพร้อมกัน 6 ปีมาแล้วที่ความขัดแย้งเรื่องเหมืองแร่โปแตชอุดรธานีปะทุขึ้น และไม่มีวี่แววจะคลี่คลาย มีแต่กลิ่นอายของความขัดแย้งรุนแรง การข่มขู่คุกคามที่แกนนำผู้คัดค้านโครงการเป็นระลอก ๆ

        หากย้อนอดีตจะเห็นว่าเมื่อ 25 ปีก่อนคนมาบตาพุดเคยตื่นเต้นกับอุตสาหกรรมใหม่ เพราะคิดว่าจะได้เงินและงาน แต่ปัจจุบันคนระยองกลับพึ่งตนเองได้น้อยลง อีกทั้งไม่มีใครคาดคิดว่าเหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหินที่แม่เมาะจะเป็นสาเหตุให้ชาวบ้านละแวกนั้นต้องเจ็บป่วย ล้มตาย จนต้องย้ายหมู่บ้านวันนี้คนอีสานกำลังอยู่ในภาวะที่เรียกว่า “ทุกขลาภ”

http://www.thaienv.com/content/view/526/39/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น