ความสุข คือ ความสบาย หรือความสำราญ แยกออกได้เป็นสองฝ่าย คือ ความสุขทางกาย กับความสุขทางใจ
ความสุขทางกาย ได้แก่ ความสุขที่สัมผัสได้จากประสาททั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส และผิวหนัง เรียกว่า “กามคุณ 5” จัดว่าเป็นฝ่ายรูป หรือความสุขที่เกิดจากเนื้อหนังมังสา อันเป็นสิ่งสกปรก
ความสุขทางใจ ได้แก่ ความสุขที่สัมผัสได้ทางจิตคือ ความสบายใจ ความสุขใจ ความอิ่มใจ ความพอใจ อันเกิดจากจิตใจที่สงบและเย็น จัดว่าเป็นฝ่ายนาม อันเป็นความสุขที่สะอาด
ความสุขทั้งกายและใจ ย่อมมีส่วนสัมพันธ์กันไม่อาจจะแยกให้ขาดจากกันได้ เพราะต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน จะขาดเสียอย่างใดอย่างหนึ่งหาได้ไม่
การปฏิบัติให้เกิด “ความพอดี” ไม่มากและไม่น้อยเกินไปไม่ว่าในส่วนกายหรือใจก็ตาม ก็ย่อมจะเกิดความสุขโดยปราศจากความทุกข์ ที่แอบแฝงตามมา
ในความสุขทั้งสองฝ่ายนี้ ความสุขทางใจ นับว่าเป็น “ยอดแห่งความสุข” ทั้งหมด ถ้าเรากระทำสิ่งใดแล้วจิตใจไม่มีความสุขแม้ว่าเราจะมีวัตถุมากมายครบถ้วนคอยอำนวยความสุขทุกรูปแบบก็หาได้ให้เกิดความสุขที่สมบูรณ์หรือแท้จริงไม่
แต่ในทางตรงกันข้าม แม้ว่าทางร่างกายจะขาดแคลนวัตถุที่จะอำนวยความสุข เเต่ถ้าจิตใจมันมีปิติหล่อเลี้ยง มีความพอใจมีความสงบใจ คนก็ย่อมจะประสบความสุขได้
ในการมีเครื่องอำนวยความสุขมากเสียอีก กลับจะเป็นมารหรืออุปสรรค คอยขัดขวางหรือบั่นทอน ไม่ให้ผู้นั้นได้พบกับความสุขที่แท้จริงเสียด้วยซ้ำไป
ในคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ทรงพร่ำสอน ทรงย้ำให้พระมีชีวตอยู่อย่าง “สันโดษ” และ “มักน้อย” ให้มีอาหารหรือปัจจัย 4หล่อเลี้ยงชีวิต เหมือนน้ำมันหยอดเพลาเกวียนเท่านั้น
จากพุทธปฏิปทานี้ชาวบ้านผู้ครองเรือน ก็สามารถประยุกต์เอามาใช้ ให้เกิดประโยชน์ได้ นั่นคือ อย่าให้ตึงจนถึงเดือดร้อน และอย่าให้หย่อนจนตัวเป็นขน.....
หลัก “มัซฌิมาปฏิปทา” คือ ทางสายกลาง ไม่ตึงไม่หย่อนจืงเป็นแนวทางที่ควรนำมาดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดความสุขในชีวิตประจำวันได้อย่างดีเยี่ยม ถ้าใช้เป็นและใช้ให้ถูกต้องกับกาละเทศะ บุคคลและอัตภาพของตน
รวมความว่า ความสุขก็คือความสบายกาย และสบายใจในสองอย่างนี้ ความสุขใจ นับว่าเป็นยอดแห่งความสุขในโลก และทุกคนก็สามารถที่จะบรรลุความสุขได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้
http://www.zazana.com/Article/id9204.aspx
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น