ปลาชะโด |
การเลี้ยงปลาคือการนำปลามาเลี้ยงเพื่อจะได้จับเป็นอาหารหรือขายเป็นรายได้แก่ผู้เลี้ยง ซึ่งการเลี้ยงปลาจะทำให้เราได้ใช้ประโยชน์จากแผ่นดินและผืนน้ำได้มากขึ้น สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตอาหารเพื่อใช้บริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้ และเนื้อปลายังมีโปรตีนสูงและย่อยง่ายอีกด้วย
ปัจจัยและสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลี้ยงปลา
1. ต้องเลือกทำเลที่เหมาะสม
ควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือที่สามารถนำน้ำเข้าบ่อได้สะดวก ลักษณะของดินควรอุ้มน้ำได้ดี เช่นดินเหนียว ซึ่งบ่อเลี้ยงปลาควรขุดในพื้นที่ลาดเอียงเล็กน้อย ไม่ควรสร้างในที่ลาดเอียงมากหรือที่น้ำท่วมถึง และบ่อเลี้ยงปลาควรอยู่กลางแจ้ง และควรอยู่ใกล้บ้านจะได้ปลอดภัยจากขโมย และดูแลรักษาปลาได้สะดวก
2. การขุดบ่อปลา
- ขั้นแรกคือการวางผังหรือกำหนดเขตวางแนวบ่อปลาลงบนผืนดินที่เลือกแล้ว โดยกำหนดให้แต่ละด้านยาวประมาณ 14 เมตร โดยให้เป็นความยาวของบ่อด้านละ 10 เมตร ส่วนอีกด้านละ 2 เมตรเป็นขอบบ่อแต่ละด้าน จากนั้นให้ถางพื้นที่ให้ปราศจากต้นไม้ พุ่มไม้ และหญ้า ขุดตอและรากไม้ออกให้หมด
- ขุดดินผิวหน้าลึกประมาณ 20 ซม.ออกให้ทั่วบริเวณที่จะขุดบ่อปลาแล้วนำไปกองรวมไว้ด้านข้าง จากนั้นจึงทำการขุดบ่อปลาแล้วควรปรับก้นบ่อให้เรียบโดยปรับให้ลาดเอียงจากตื้นไปหาลึก บ่อข้างที่ตื้นควรให้มีระดับน้ำลึกประมาณหัวเข่า ส่วนบ่อข้างที่ลึกควรให้มีระดับน้ำลึกประมาณเอว จากนั้นนำดินผิวหน้าที่ขุดออกซึ่งกองอยู่ริมบ่อไปถมที่ขออบบ่อ ( กว้าง 2 เมตร ) สร้างให้เป็นคันบ่อ แต่ไม่ควรสร้างให้ขอบบ่อชันเกินไป แต่ควรทำให้เอียงลาดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของขอบ่อ จากนั้นให้กระทุ้งดินที่ขอบบ่อให้แน่นเพื่อให้ขอบบ่อแข็งแรงเพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำในบ่อและป้องกันการรั่วซึมของขอบบ่อ
- เมื่อขุดบ่อเสร็จแล้ว ในการระบายน้ำเข้าบ่อควรทำทางน้ำเข้าบ่อด้านน้ำตื้นให้ท่อระบายน้ำอยู่เหนือระดับน้ำในบ่อเพื่อระบายน้ำได้สะดวกและควรทำท่อระบายน้ำออกจากบ่อด้านน้ำลึกเพื่อป้องกันไมให้น้ำล้นบ่อเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าบ่อมากเกินไปซึ่งท่อน้ำเข้าและท่อน้ำออกนี้สามารถทำได้โดยใช้ลำไม้ไผ่ที่ทะลุปล้องมาใช้เป็นท่อระบายน้ำ
- เมื่อขุดบ่อปลาเสร็จแล้วนำดินผิวหน้าที่ขุดกองไว้ไปตบแต่งคันดินแล้วปลูกหญ้าบนคันดินเพื่อป้องกันดินพังทะลายหรือถูกชะล้างไหลลงบ่อเวลาฝนตกหรือจะปลูกพืชผัก เช่น มะละกอ พริก มะเขือหรือมะพร้าวแทนหญ้าก็ได้
3. การระบายน้ำเข้าบ่อปลา
ทำได้โดยใช้ลำรางเล็กๆซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดและถ้าเป็นการระบายน้ำมาจากลำธารควรระมัดระวังอย่าให้ปลาชนิดอื่นติดมาด้วยซี่งสามารถป้องกันได้โดยใช้ตะแกรงตาถี่ขวางกั้นที่ปากท่อน้ำเข้าบ่อ และถ้าหากไม่มีตะแกรงตาถี่ก็สามารถใช้กับดักปลา เผือกไม้ไผ่ หม้อดินที่เจาะรูที่ก้น หรือกระป๋องนมที่เจาะรูที่ก้นใช้สวมที่ท่อไม่ไผ่
4. การใส่ปุ๋ยในบ่อปลา
เป็นการช่วยเพิ่มอาหารธรรมชาติให้แก่ปลาในบ่อซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆโดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยสร้างเป็นคอกเล็กๆไว้ริมขอบบ่อด้วยไม่ไผ่หรือไม้อื่นๆที่ขอบบ่อด้านน้ำตื้นแล้วใส่ปุ๋ยลงไปในคอกที่เตรียมไว้ ต่อมาน้ำในบ่อก็จะเป็นสีเขียวแสดงว่าเกิดอาหารธรรมชาติในบ่อเพิ่มขึ้นวึ่งจะทำให้ปลาเจริญเติบโตเร็วขึ้นและเพื่อรักษาน้ำในบ่อปลาให้เขี้ยวอยู่เสมอให้ใส่ปุ๋ยในคอกหนึ่งถังทุกสัปดาห์ ซึ่งการทำปุ๋ยคอก มีวิธีการทำดังนี้
- เตรียมกองปุ๋ยคอกไว้ใกล้ๆบ่อปลาให้อยู่ในที่ร่ม จะได้ไม่เปียกฝน
- การทำปุ๋ยคอกให้เตรียมเป็นชั้นๆ ชั้นแรกเป็นพวกหญ้า หรือใบไม้ ผสมคลุกเคล้ากับดินจากผิวหน้าดิน แล้วรดน้ำให้เปียกกชุ่มเพื่อช่วยให้หญ้าและใบไม้เน่าสลายตัวเร็วขึ้น
- ชั้นที่ 2 เป็นชั้นของมูลสัตว์โดยผสมคลุกเคล้ากับดินจากผิวหน้าดินแล้วรดด้วยน้ำให้เปียกชุ่ม ส่วนมูลสัตว์ที่ใช้ได้จากสัตว์หลายชนิด เช่น หมู ไก่ เป็ด แกะ แพะ วัว ควาย ในกรณีที่หาข้อมูลยากอาจใช้เมล็ดฝ้าย ผลไม้เน่าเสีย ขยะจากบ้านเรือน ขี้เถ้า หรืออุจจาระมนุษย์แทนได้
- ชั้นถัดมา และชั้นของหญ้าและใบไม้และชั้นของฒูลสัตว์สลับกันไปจนได้ขนาดของกองปุ๋ยตามต้องการ
- จากนั้นรักษากองปุ๋ยคอกให้ชุ่มอยู่เสมอ โดยรดน้ำ 2-3 วันแล้วปล่อยให้ปุ๋ยคอกสลายตัวไปเองซึ่งใช้เวลานานประมาณ 1 เดือน และเวลาจะใช้ให้โกยปุ๋ยคอกจากชั้นล่างหรือส่วนที่สลายตัวมากที่สุดนำไปใส่ในบ่อปลา จากนั้นก็ให้เพิ่มปุ๋ยในกองปุ๋ยทุกสัปดาห์จะได้มีปุ๋ยใช้อย่างสม่ำเสมอ
การปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อ
ก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อควรจะมีการเตรียมลูกพันธุ์ปลาให้พร้อม ซึ่งอาจจะหาได้จากแหล่งเลี้ยงปลาอกชนหรือสถานีประมง ในการปล่อยปลาลงเลี้ยงไม่ควรปล่อยหนาแน่นกเกินไป เพราะปลาจะโตช้าและมีขนาดเล็กกว่าที่ควร และถ้าหากต้องการเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมกันควรขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการประมง
ในการปล่อยปลาควรตรวจสอบอุณหภูมิของน้ำในบ่อปลาปละน้ำจากถุงลำเลียงปลาไม่ควรแตกต่างกันจนเกินไป ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ง่ายโดยใช้มือข้างหนึ่งจุ่มในน้ำที่บรรจุลูกปลาอีกข้างจุ่มลงในบ่อเลี้ยงปลา และในการปล่อยควรค่อยๆเติมน้ำจากบ่อปลาลงไปในภาชนะที่บรรจุลูกปลาจนกระทั้งน้ำมีอุณหภูมิเท่ากัน ไม่ควรเทปลาจากภาชนะลงในบ่อโดยตรง
การให้อาหารปลา ในการเลี้ยงปลาควรให้อาหารปลาวัน ซึ่งปลาสามารถกินอาหารได้หลายอย่าง เช่น
- หยวก
- ใบมันสำปะหลัง และกากมันสำปะหลัง
- กากเมล็ดพืช เช่น กากถั่ว
- รำ
- ข้าวสุก
- พืชผักต่างๆ
- เลือดสัตว์-เครื่องในสัตว์
- ผลไม้เน่า
- เศษอาหาร
และในการอาหารปลาควรให้ในบริเวณบ่อด้านที่ตื้นจะได้สังเกตเห็นปลากินอาหารได้สะดวก และควรให้อาหรมากพอที่ปลาจะกินหมดในแต่ละครั้งไม่ควรให้อาหารมากเกินไป ถ้าปลาสุขภาพดีปลาจะกินอาหารได้มากและรวดเร็ว และถ้าปลากินอาหารไม่หมดควรลดปริมาณอาหารที่ให้ในวันถัดไปแต่ถ้าแลากินอาหารหมดอย่างรวดเร็วควรเพิ่มอาหารอีกเล็กน้อยในวันถัดไปและอย่าลืมเติมปุ๋ยคอก 1 ถัง ทุกสัปดาห์ลงในคอกที่เตรียมไว้ริมบ่อ
การดูแลรักษาบ่อ
ในการเลี้ยงปลาควรมีการดูแลรักษาบ่อโดยตรวจสภาพบ่อปลาทุกวัน เพื่อสำรวจดูความเรียบร้อย เช่น ดูระดับน้ำในบ่อ ตะแกรงกั้นน้ำเข้าออกและควรหมั่นกำจัดวัชพืช หรือหญ้าที่ขึ้นริมบ่อ หากพบรอยรั่วของบ่อให้รีบซ่อมแซมทันที และควรกำจัดศัตรูของปลาให้หมด
การจับปลา
อย่าจับปลาในช่วง 5 เดือนแรกหลังจากนั้นอาจจับปลาได้ขนาดสัปดาห์ละ 4-5 ตัวเพื่อบริโภคในครัวเรือน และเมื่อปลาโตได้ขนาดประมาณ 6 เดือนก็สามารถจับขายได้
ปัจจัยและสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลี้ยงปลา
1. ต้องเลือกทำเลที่เหมาะสม
ควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือที่สามารถนำน้ำเข้าบ่อได้สะดวก ลักษณะของดินควรอุ้มน้ำได้ดี เช่นดินเหนียว ซึ่งบ่อเลี้ยงปลาควรขุดในพื้นที่ลาดเอียงเล็กน้อย ไม่ควรสร้างในที่ลาดเอียงมากหรือที่น้ำท่วมถึง และบ่อเลี้ยงปลาควรอยู่กลางแจ้ง และควรอยู่ใกล้บ้านจะได้ปลอดภัยจากขโมย และดูแลรักษาปลาได้สะดวก
2. การขุดบ่อปลา
- ขั้นแรกคือการวางผังหรือกำหนดเขตวางแนวบ่อปลาลงบนผืนดินที่เลือกแล้ว โดยกำหนดให้แต่ละด้านยาวประมาณ 14 เมตร โดยให้เป็นความยาวของบ่อด้านละ 10 เมตร ส่วนอีกด้านละ 2 เมตรเป็นขอบบ่อแต่ละด้าน จากนั้นให้ถางพื้นที่ให้ปราศจากต้นไม้ พุ่มไม้ และหญ้า ขุดตอและรากไม้ออกให้หมด
- ขุดดินผิวหน้าลึกประมาณ 20 ซม.ออกให้ทั่วบริเวณที่จะขุดบ่อปลาแล้วนำไปกองรวมไว้ด้านข้าง จากนั้นจึงทำการขุดบ่อปลาแล้วควรปรับก้นบ่อให้เรียบโดยปรับให้ลาดเอียงจากตื้นไปหาลึก บ่อข้างที่ตื้นควรให้มีระดับน้ำลึกประมาณหัวเข่า ส่วนบ่อข้างที่ลึกควรให้มีระดับน้ำลึกประมาณเอว จากนั้นนำดินผิวหน้าที่ขุดออกซึ่งกองอยู่ริมบ่อไปถมที่ขออบบ่อ ( กว้าง 2 เมตร ) สร้างให้เป็นคันบ่อ แต่ไม่ควรสร้างให้ขอบบ่อชันเกินไป แต่ควรทำให้เอียงลาดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของขอบ่อ จากนั้นให้กระทุ้งดินที่ขอบบ่อให้แน่นเพื่อให้ขอบบ่อแข็งแรงเพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำในบ่อและป้องกันการรั่วซึมของขอบบ่อ
- เมื่อขุดบ่อเสร็จแล้ว ในการระบายน้ำเข้าบ่อควรทำทางน้ำเข้าบ่อด้านน้ำตื้นให้ท่อระบายน้ำอยู่เหนือระดับน้ำในบ่อเพื่อระบายน้ำได้สะดวกและควรทำท่อระบายน้ำออกจากบ่อด้านน้ำลึกเพื่อป้องกันไมให้น้ำล้นบ่อเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าบ่อมากเกินไปซึ่งท่อน้ำเข้าและท่อน้ำออกนี้สามารถทำได้โดยใช้ลำไม้ไผ่ที่ทะลุปล้องมาใช้เป็นท่อระบายน้ำ
- เมื่อขุดบ่อปลาเสร็จแล้วนำดินผิวหน้าที่ขุดกองไว้ไปตบแต่งคันดินแล้วปลูกหญ้าบนคันดินเพื่อป้องกันดินพังทะลายหรือถูกชะล้างไหลลงบ่อเวลาฝนตกหรือจะปลูกพืชผัก เช่น มะละกอ พริก มะเขือหรือมะพร้าวแทนหญ้าก็ได้
3. การระบายน้ำเข้าบ่อปลา
ทำได้โดยใช้ลำรางเล็กๆซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดและถ้าเป็นการระบายน้ำมาจากลำธารควรระมัดระวังอย่าให้ปลาชนิดอื่นติดมาด้วยซี่งสามารถป้องกันได้โดยใช้ตะแกรงตาถี่ขวางกั้นที่ปากท่อน้ำเข้าบ่อ และถ้าหากไม่มีตะแกรงตาถี่ก็สามารถใช้กับดักปลา เผือกไม้ไผ่ หม้อดินที่เจาะรูที่ก้น หรือกระป๋องนมที่เจาะรูที่ก้นใช้สวมที่ท่อไม่ไผ่
4. การใส่ปุ๋ยในบ่อปลา
เป็นการช่วยเพิ่มอาหารธรรมชาติให้แก่ปลาในบ่อซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆโดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยสร้างเป็นคอกเล็กๆไว้ริมขอบบ่อด้วยไม่ไผ่หรือไม้อื่นๆที่ขอบบ่อด้านน้ำตื้นแล้วใส่ปุ๋ยลงไปในคอกที่เตรียมไว้ ต่อมาน้ำในบ่อก็จะเป็นสีเขียวแสดงว่าเกิดอาหารธรรมชาติในบ่อเพิ่มขึ้นวึ่งจะทำให้ปลาเจริญเติบโตเร็วขึ้นและเพื่อรักษาน้ำในบ่อปลาให้เขี้ยวอยู่เสมอให้ใส่ปุ๋ยในคอกหนึ่งถังทุกสัปดาห์ ซึ่งการทำปุ๋ยคอก มีวิธีการทำดังนี้
- เตรียมกองปุ๋ยคอกไว้ใกล้ๆบ่อปลาให้อยู่ในที่ร่ม จะได้ไม่เปียกฝน
- การทำปุ๋ยคอกให้เตรียมเป็นชั้นๆ ชั้นแรกเป็นพวกหญ้า หรือใบไม้ ผสมคลุกเคล้ากับดินจากผิวหน้าดิน แล้วรดน้ำให้เปียกกชุ่มเพื่อช่วยให้หญ้าและใบไม้เน่าสลายตัวเร็วขึ้น
- ชั้นที่ 2 เป็นชั้นของมูลสัตว์โดยผสมคลุกเคล้ากับดินจากผิวหน้าดินแล้วรดด้วยน้ำให้เปียกชุ่ม ส่วนมูลสัตว์ที่ใช้ได้จากสัตว์หลายชนิด เช่น หมู ไก่ เป็ด แกะ แพะ วัว ควาย ในกรณีที่หาข้อมูลยากอาจใช้เมล็ดฝ้าย ผลไม้เน่าเสีย ขยะจากบ้านเรือน ขี้เถ้า หรืออุจจาระมนุษย์แทนได้
- ชั้นถัดมา และชั้นของหญ้าและใบไม้และชั้นของฒูลสัตว์สลับกันไปจนได้ขนาดของกองปุ๋ยตามต้องการ
- จากนั้นรักษากองปุ๋ยคอกให้ชุ่มอยู่เสมอ โดยรดน้ำ 2-3 วันแล้วปล่อยให้ปุ๋ยคอกสลายตัวไปเองซึ่งใช้เวลานานประมาณ 1 เดือน และเวลาจะใช้ให้โกยปุ๋ยคอกจากชั้นล่างหรือส่วนที่สลายตัวมากที่สุดนำไปใส่ในบ่อปลา จากนั้นก็ให้เพิ่มปุ๋ยในกองปุ๋ยทุกสัปดาห์จะได้มีปุ๋ยใช้อย่างสม่ำเสมอ
การปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อ
ก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อควรจะมีการเตรียมลูกพันธุ์ปลาให้พร้อม ซึ่งอาจจะหาได้จากแหล่งเลี้ยงปลาอกชนหรือสถานีประมง ในการปล่อยปลาลงเลี้ยงไม่ควรปล่อยหนาแน่นกเกินไป เพราะปลาจะโตช้าและมีขนาดเล็กกว่าที่ควร และถ้าหากต้องการเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมกันควรขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการประมง
ในการปล่อยปลาควรตรวจสอบอุณหภูมิของน้ำในบ่อปลาปละน้ำจากถุงลำเลียงปลาไม่ควรแตกต่างกันจนเกินไป ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ง่ายโดยใช้มือข้างหนึ่งจุ่มในน้ำที่บรรจุลูกปลาอีกข้างจุ่มลงในบ่อเลี้ยงปลา และในการปล่อยควรค่อยๆเติมน้ำจากบ่อปลาลงไปในภาชนะที่บรรจุลูกปลาจนกระทั้งน้ำมีอุณหภูมิเท่ากัน ไม่ควรเทปลาจากภาชนะลงในบ่อโดยตรง
การให้อาหารปลา ในการเลี้ยงปลาควรให้อาหารปลาวัน ซึ่งปลาสามารถกินอาหารได้หลายอย่าง เช่น
- หยวก
- ใบมันสำปะหลัง และกากมันสำปะหลัง
- กากเมล็ดพืช เช่น กากถั่ว
- รำ
- ข้าวสุก
- พืชผักต่างๆ
- เลือดสัตว์-เครื่องในสัตว์
- ผลไม้เน่า
- เศษอาหาร
และในการอาหารปลาควรให้ในบริเวณบ่อด้านที่ตื้นจะได้สังเกตเห็นปลากินอาหารได้สะดวก และควรให้อาหรมากพอที่ปลาจะกินหมดในแต่ละครั้งไม่ควรให้อาหารมากเกินไป ถ้าปลาสุขภาพดีปลาจะกินอาหารได้มากและรวดเร็ว และถ้าปลากินอาหารไม่หมดควรลดปริมาณอาหารที่ให้ในวันถัดไปแต่ถ้าแลากินอาหารหมดอย่างรวดเร็วควรเพิ่มอาหารอีกเล็กน้อยในวันถัดไปและอย่าลืมเติมปุ๋ยคอก 1 ถัง ทุกสัปดาห์ลงในคอกที่เตรียมไว้ริมบ่อ
การดูแลรักษาบ่อ
ในการเลี้ยงปลาควรมีการดูแลรักษาบ่อโดยตรวจสภาพบ่อปลาทุกวัน เพื่อสำรวจดูความเรียบร้อย เช่น ดูระดับน้ำในบ่อ ตะแกรงกั้นน้ำเข้าออกและควรหมั่นกำจัดวัชพืช หรือหญ้าที่ขึ้นริมบ่อ หากพบรอยรั่วของบ่อให้รีบซ่อมแซมทันที และควรกำจัดศัตรูของปลาให้หมด
การจับปลา
อย่าจับปลาในช่วง 5 เดือนแรกหลังจากนั้นอาจจับปลาได้ขนาดสัปดาห์ละ 4-5 ตัวเพื่อบริโภคในครัวเรือน และเมื่อปลาโตได้ขนาดประมาณ 6 เดือนก็สามารถจับขายได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น